การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท้าทายเป็นฐานร่วมกับเทคนิคทีจีทีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พงศธร เหล็กคง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท้าทายเป็นฐานร่วมกับเทคนิคทีจีที กำหนดเกณฑ์ผ่าน คือ นักเรียนร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 45 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ผลงานนักเรียน และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 82.22 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.18 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.89 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.56 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.19 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จากผลการวิจัยในครั้งนี้สรุปว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท้าทายเป็นฐานร่วมกับเทคนิคทีจีทีสามารถพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
เหล็กคง พ. (2025). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท้าทายเป็นฐานร่วมกับเทคนิคทีจีทีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Applied Economics, Management and Social Sciences, 1(3), 45–62. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/1294
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ศรีนรจันทร์. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชา สังคมศึกษา ส 22101 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

กนกวรรณ หาญเสนา. (2558). การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเริงรมย์วิทยาคมปีการศึกษา 2558 โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ TGT (Team - Games – Tournament). ค้นจาก http://www.thaiedresearch.org/home/paperview/12.

นิพิฐพร โกมลกิตติศักดิ์. (2553). การวิเคราะห์ผลของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การทดลองอนุกรมเวลา. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม. (2558). การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 111-121.

ภัทรี สุรโรชน์ประจักษ์. (2558). การพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานผสมผสานแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. Journal of Education Studies, 46(2), 157-179.

โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน. (2562). ประวัติโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน. ค้นจาก https://ict.kkw-info.com/index.php?m=main&p=school_history.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล เมืองมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(4), 7-15.

ศิริพร แก้วอ่อน, ดุษฎี โยเหลา และกมลวรรณ คล้ายแก้ว. (2558). การพัฒนาความสามารถและเจตคติในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. Journal of Behavioral Science for Development, 7(1), 187-191.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สารสิน เล็กเจริญ และสมพร ร่วมสุข. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT กับการสอนแบบปกติ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 132-143.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. ค้นจาก http www.nesdb.go.th.

สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทาง วิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุวัจนา จริตกาย และพจมาลย์ สกลเกียรติ. (2564). การพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้โปรแกรม Scratch ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศาสน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 19(2), 210-223.

เสกสรร สุขเสนา และวสวัตติ์ วงศ์พันธุเศรษฐ์. (2563). การเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาที่ถูกท้าทายในปัจจุบันของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 111-112.

เสงี่ยม โตรัตน์. (2546). การสอนเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1(1), 26-37.

อารี พันธุ์มณี. (2546). ฝึกคิดให้เป็น คิดให้สร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ใยไหม.

Apple Inc. (2011). Challenge-based learning: Take action and make a difference. The U.S.A. Apple Inc.

Guilford, J. P. (1959). Traits of creativity. In H. H. Anderson & M. S. Anderson (Eds.), Creativity and its cultivation, addresses presented at the interdisciplinary symposia on creativity (pp. 142-161). New York: Harper and Row.

Isaksen, S. G., Dorval, K. B., & Treffinger, D. J. (2011). Creative approaches to problem solving: A framework for innovation and change. London: Sage Publication.

Johnson, L. F., Smith, R. S., Smythe, J. T., & Vron, R. K. (2009). Challenge-Based Learning: An Approach for Our Time. Texas: The New Media Consortium.

Kim, Y. C. (2008). Theory and development of creativity. Seoul: Kyoyookbook.

Lee, S. S., & Lee, Y. N. (2007). Development of blended instructional model for creative problem solving. Journal of Educational Technology, 23(2), 135-159.

Puccio, G. J., Mance, M., & Murdock, M. C. (2007). Creative leadership: Skills that drive change. London: Sage Publication.