วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. เพื่อเป็นแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย บทวิจารณ์หนังสือและบทความวิชาการประเภทอื่นๆ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. เพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการของนักวิจัยและนักวิชาการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. เพื่อเป็นพื้นที่เสนอองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามนุษย์ตามหลักการศึกษา เชิงพระพุทธศาสนาและศาสตร์ต่างๆ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. เพื่อพัฒนาวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาและเป็นการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลงานการวิจัยและบทความทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศาสนาและศาสตร์ต่างๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI</span></p> th-TH mongkholkan1977@gmail.com (พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม, รศ.ดร.) nalakiri197@gmail.com (ดร. พูนศักดิ์ กมล) Fri, 27 Jun 2025 07:45:58 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความเชื่อเรื่องพระพรหมตามคติพระพุทธศาสนาเถรวาท https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1915 <p>พระพรหมตามคติพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง เทพที่อยู่ในพรหมภูมิ ไม่เสพกาม มีอายุขัยยาวนานเป็นกัปจนถึงมหากัป มีรูปทิพย์ มีวรรณะทิพย์ มีอาภรณ์ทิพย์ มีรัศมีกายสว่างไสว มีฌานเป็นอาหาร มีฌานเป็นอารมณ์ มีความเป็นอยู่ด้วยปีติสุขทางจิต ไม่มีเพศปรากฏให้เห็น แต่คล้ายเพศชายมาก พระพรหมมีฐานะสูงกว่าเทวดาในกามาวจรภูมิ พระพรหมอาศัยอยู่ในภูมิที่ไม่เสพกามคุณ เรียกว่า พรหมภูมิ พรหมมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ รูปพรหม คือพรหมมีรูป 16 ชั้น แต่ละชั้นมีอธิบดีปกครอง อรูปพรหม คือพรหมไม่มีรูป 4 ชั้น ไม่มีอธิบดีปกครอง เพราะไม่มีรูปมีแต่วิญญาณอยู่ในสภาวะจิต วิมานของพระพรหม เรียกว่า พรหมวิมาน ที่อยู่ของพระพรหม เรียกว่า พรหมโลก พระพรหมมีกำเนิดจากมนุษย์ผู้บรรลุฌาน เมื่อตายแล้วฌานยังไม่เสื่อม ผลของฌานส่งผลให้มาเกิดเป็นพระพรหม เมื่อสิ้นอายุขัยในพรหมโลก ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ</p> <p>พระพรหมเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่มีกุศลมาก มีความพิเศษกว่าสัตว์ในภูมิอื่น ใบหน้าพระพรหมมีสัณฐานกลมเกลี้ยง มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากกายดุจพระอาทิตย์ อวัยวะร่างกายที่ต่อกัน คือหัวเข่าข้อศอกมีความกลมเกลี้ยงเรียบงาม พระพรหมมีเกศางาม มีชฎาประดับเศียร มีใบหน้าเดียว มีกายตรง นั่งท่าเดียวตลอดเวลา มีเสียงดังกังวาน เสวยสุขในพรหมโลกตราบสิ้นอายุขัย คำสอนในพระพุทธศาสนาเชื่อว่า พระพรหมมีจริง พระพรหมเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ได้แก่ ตอนประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ แสดงธรรม ปรินิพพาน พระสูตรที่กล่าวถึงพระพรหม คือภูริทัตชาดก นารทชาดก พรหมชาลสูตร พรหมสูตร เกวัฏฏสูตร ในพระพุทธศาสนาแบ่งพระพรหมเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พรหมบุคคลาธิษฐาน คือรูปพรหม อรูปพรหม พรหมธรรมาธิษฐาน คือพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า บิดา มารดา สังคมไทยรับเอาอิทธิพลเรื่องพระพรหมมาจากพระพุทธศาสนา คือการบูชาบิดามารดาผู้มีคุณว่าเป็นพระพรหม เพราะว่ามีพรหมวิหารเป็นคุณธรรม คนไทยที่บูชาพระพรหมเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้วิเศษ เป็นผู้มีคุณธรรม และเป็นผู้บริสุทธิ์</p> พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1915 Fri, 27 Jun 2025 00:00:00 +0700 พระพรหมตามคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1916 <p>พรหมเป็นผู้สร้างโลก คัมภีร์อุปนิษัทกล่าวว่า พรหมที่อยู่ในพราหมณะที่เก่าที่สุด มีความหมายเพียงเป็นการสวดอ้อนวอน เป็นเพียงแค่ความศักดิ์สิทธิ์ที่เล่าสืบเนื่องมา ชาวอินเดียส่วนหนึ่งที่นับถือพรหมเชื่อกันว่า พรหมเป็นผู้สร้างทุกสิ่ง พรหมเป็นผู้รู้ทุกสิ่งทั้งสิ่งที่มีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิต เมื่อพรหมสร้างขึ้นมาแล้วจักรวาลจะคงอยู่ได้มีกำหนดหนึ่งวันของพรหม คิดเป็นปีมนุษย์ได้สองร้องหกสิบโกฏิปี เมื่อสิ้นวันของพรหมก็จะมีไฟบรรลัยกัลป์มาไหม้โลกจักรวาล และพรหมจะทรงสร้างจักรวาลและสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาอีกครั้งชาวอินเดียส่วนหนึ่งที่นับถือพรหม และชอบขอพรจากพรหมเชื่อว่า การขอพรจากพรหมเป็นสิ่งมงคล พรหมจะประทานพรให้แก่สาวก ผู้กราบไหว้บูชาพระองค์ด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง พระองค์จึงจะทรงประทานพรให้บุคคลนั้นได้มีแต่ความเจริญรุ่งเรือ</p> พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง, พูนศักดิ์ กมล Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1916 Fri, 27 Jun 2025 00:00:00 +0700 ศึกษาแนวคิดเชิงสุนทรียภาพและหลักพุทธธรรม ที่ปรากฏในบทกวีของไพวรินทร์ ขาวงาม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1914 <p>แนวคิดเชิงสุนทรียภาพทั่วไป เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความงามที่ปรากฏในงานศิลปะและธรรมชาติ คือ แนวคิดเชิงสุนทรียภาพในบทกวีเป็นสุนทรียภาพแห่งชีวิต และมีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ด้านอารมณ์ความรู้สึก ที่เกิดจากสุนทรียะเชิงจินตนาการ บทกวีจะสื่อสารทางความคิด ต่อบรรดาการสร้างสรรค์งานศิลปะ ทำให้สัมผัสถึงรสแห่งศิลปะ ความงดงาม ความไพเราะ สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เกิดความรู้สึกปีติยินดี อิ่มเอมใจ และชื่นชมในสิ่งต่าง ๆ แนวคิดเชิงสุนทรียภาพ และหลักพุทธธรรม ที่ปรากฏในบทกวีของไพวรินทร์ ขาวงาม คือพุทธธรรมที่ปรากฏในบทกวีของไพวรินทร์ ขาวงาม ได้แก่ ความกตัญญู ความสันโดษ ความเสียสละ ความถ่อมตน ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ รูปแบบแนวคิดเชิงสุนทรียภาพ และหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในบทกวีของไพวรินทร์ ขาวงาม คือบทกวีของไพวรินทร์ ขาวงาม ได้รับอิทธิพลมาจากคำสอนทางพระพุทธศาสนา และมีแนวคิดส่วนหนึ่งมาจากปรัชญาชีวิต แบบธรรมชาตินิยม ทำให้เห็นถึงหลักพุทธธรรม ที่ซ่อนอยู่ในบทกวี ได้แก่ ความกตัญญู ความสามัคคี ความเพียร ความซื่อสัตย์ และความสันโดษ สุนทรียภาพในบทกวีเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดความงาม ในแง่ของวรรณศิลป์ที่ถูกถ่ายทอดออกมาจากอารมณ์ความรู้สึก ได้แก่ การเล่นคำ การสรรคำ คำสัมผัส สำนวน โวหาร และการอุปมา อุปไมย</p> กาญจนพงศ์ สุวรรณ, พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1914 Fri, 27 Jun 2025 00:00:00 +0700 ตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1815 <p>รอยพระวิษณุบาท คือรอยพระบาทของพระวิษณุเทพ ที่พระองค์ทรงเสด็จมาประทับเอาไว้ยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง เป็นนิมิตหมายแห่งความเจริญรุ่งเรืองของนิกายไวษณพ และเป็นสัญลักษณ์แทนพระวิษณุเทพ ในการปราบอธรรมให้หมดไปจากไตรโลก ซึ่งรอยพระวิษณุบาทมักจะปรากฏบนแผ่นหินสีดำมีทั้งรอยพระบาทคู่ และพระบาทเดี่ยว ตามตำนานเล่าว่ามีอยู่ 5 แห่ง ได้แก่ 1) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองหริทวาร 2) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองพัทรีนาถ 3) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองคยาสีสะ 4) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองราเมศวร และ 5) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองวารณสี การเกิดขึ้นของรอยพระวิษณุบาทนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากการอันเชิญของเหล่าเทพยดาบนสรวงสวรรค์ อ้อนวอนเพื่อให้พระวิษณุเทพทรงอวตารลงมาปราบอสูร ที่เที่ยวทำความเดือดร้อนไปทั่วสามโลก อีกประการหนึ่ง พระวิษณุเทพจะทรงประทานรอยพระวิษณุบาท ให้กับสาวกผู้ภักดี และอุทิศตนต่อพระองค์ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ระลึกถึงพระองค์ และเพื่อเป็นสิ่งเคารพสักการะบูชา ให้เกิดความเป็นอุดมมงคล รอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นรอยพระบาทขนาดกลาง ไม่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางศาสนา รอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกิดขึ้นจากการอวตาร ของพระวิษณุเทพลงมาปราบอสูร และพระองค์ทรงได้ประทับรอยพระบาทเอาไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการปราบอธรรม</p> พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1815 Fri, 27 Jun 2025 00:00:00 +0700