https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/issue/feed
วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์
2025-05-09T00:00:00+07:00
พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม, รศ.ดร.
mongkholkan1977@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. เพื่อเป็นแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย บทวิจารณ์หนังสือและบทความวิชาการประเภทอื่นๆ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. เพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการของนักวิจัยและนักวิชาการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. เพื่อเป็นพื้นที่เสนอองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามนุษย์ตามหลักการศึกษา เชิงพระพุทธศาสนาและศาสตร์ต่างๆ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. เพื่อพัฒนาวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาและเป็นการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลงานการวิจัยและบทความทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศาสนาและศาสตร์ต่างๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI</span></p>
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1235
วิถีชีวิตตามแนวคิดทางพุทธปรัชญาเถรวาท
2025-03-12T14:20:12+07:00
พระวรุต วิสุทฺโธ คนเพียร
warutkhonphian@gmail.com
พูนศักดิ์ กมล
poonsakkamol@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา พระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์มี 2 ประเภท ได้แก่ อนิยตะ 1 นิยตะ 1 พระโพธิสัตว์ที่ไม่ได้รับพยากรณ์ หรือรับรองจากพระพุทธเจ้าว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่า นิยตโพธิสัตว์ คือ จะต้องมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน โดยที่จำต้องประพฤติปฏิบัติตนด้วยหลักธรรมสโมธาน 8 และบำเพ็ญบารมี 10 ให้บริบูรณ์เป็นต้นด้วย</p> <p> พระพุทธศาสนาเถรวาทยึดหลักการบำเพ็ญบารมี 10 ทัศแบ่งเป็น 3 ลำดับ บริบูรณ์ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ การบริจาควัตถุสิ่งของ ทรัพย์สมบัติ ระดับกลาง หรือ อุปบารมี เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การบริจาคอวัยวะ รวมถึง การบริจาคบุตรภรรยาซึ่งเรารักเสมอด้วยแก้วตาดวงใจเป็นทาน ระดับอุกฤษฏ์ หรือ ปรมัตถบารมี เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การบริจาคชีวิตร่างกายอันเป็นที่รักหวงแหนสูงสุดของสัตว์ทั้งหลายให้เป็นทาน รวมบารมี 10 ประการ 3 ระดับได้เป็น สมติงสบารมี หรือ บารมี 30 ทัศ แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดของฝ่ายเถรวาทโดยทั่วไปอยู่ที่อรหันตภาวะ คือ ความเป็นพระอรหันต์สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิง</p>
2025-05-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1761
การเกิดขึ้นของอภิสมาจารสิกขาบทของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและนิกายมหายาน
2025-04-29T23:13:17+07:00
พระสมบัตร จารุธมฺโม ถาวร
Siraphop096@gmail.com
พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง
Siraphop096@gmail.com
สิรภพ สวนดง
Siraphop096@gmail.com
<p>พระวินัยเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้นมา เพื่อควบคุมพฤติกรรมของภิกษุทั้งหลายให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ประกอบด้วย สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ และสิกขาบทที่มานอกพระปาติโมกข์ เรียกว่า อภิสมาจารสิกขาบท ในพระพุทธศาสนาเถรวาท การเกิดขึ้นของอภิสมาจารสิกขาบท พระพุทธองค์ทรงทรงบัญญัติไปตามสภาพภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง สิกขาบทที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิศาสตร์ เช่น การอุปสมบท การสรงน้ำ รวมถึงเรื่องการเก็บภิกษาหารได้ในยามเกิดทุพภิกขภัย สิกขาบทที่เกี่ยวกับสังคม พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้กุลบุตรสามารถเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาได้ โดยไม่มีเลือกชั้นวรรณะ และอาชีวปาริสุทธิศีล และการเกิดขึ้นของอภิสมาจารด้านวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมในการบิณฑบาต การนุ่งห่มจีวร เสนาสนะ และคิลานเภสัช</p> <p>สำหรับพระพุทธศาสนามหายาน การเกิดขึ้นของอภิสมาจารด้านภูมิศาสตร์ เกิดขึ้นมาจากสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากทำให้เกิดมีอภิสมาจารสิกขาบทเช่น รูปแบบการนุ่งห่มจีวรที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น และการอุปสมบท ส่วนการเกิดขึ้นของอภิสมาจารด้านสังคม เกิดการพัฒนาการเช่นเรื่องการมีครอบครัว การประกอบอาหารทานเองได้ การมุ่งบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลกซึ่งเปลี่ยนไปตามสภาพพื้นที่และเวลา และการเกิดขึ้นของอภิสมาจารด้านวัฒนธรรม เช่น การไม่ทานเนื้อสัตว์ การฉันอาหารในเวลาเย็น</p> <p>การเปรียบเทียบการเกิดขึ้นของอภิสมาจาร ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน พบว่า มีนัยที่เหมือนกัน คือพระวินัยบัญญัติของทั้งสองนิกาย มีสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ และที่มานอกพระปาติโมกข์เหมือนกัน ต่างกันแค่จำนวนของสิกขาบทเท่านั้น ส่วนนัยที่แตกต่างกัน คือนิกายเถรวาทไม่ตัดทอน ไม่เพิ่ม และไม่เปลี่ยนแปลงสิกขาบททุกข้อที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ส่วนนิกายมหายานนั้นสามารถตัดทอน และเปลี่ยนแปลงสิกขาบทได้ตามกาลเทศะ</p>
2025-05-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1777
ตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท
2025-05-01T00:51:39+07:00
พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง
poon.192525@cpru.ac.th
ปุ่น ชมภูพระ
poon.192525@cpru.ac.th
<p>รอยพระพุทธบาท คือรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงประทับเอาไว้ยังสถานที่สำคัญหลายแห่ง เป็นนิมิตหมายแห่งคุณงามความดี ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งรอยพระพุทธบาทมักจะปรากฏบนแผ่นหินที่อยู่บนภูเขาสูง มีทั้งรอยพระบาทคู่และพระบาทเดี่ยว มีทั้งขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีทั้งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ และไม่ปรากฏในคัมภีร์ ตามตำนานเล่าว่ามีอยู่ 5 แห่ง ได้แก่</p> <p>1) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุวรรณมาลี</p> <p>2) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุวรรณบรรพต</p> <p>3) รอยพระพุทธบาทที่เมืองโยนกบุรี</p> <p>4) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุมนกูฏ</p> <p>5) รอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที</p> <p>การเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท นั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากการอาราธนาของเหล่าเทวดา นาคราช ดาบส และมนุษย์ทั้งหลายได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ ทรงประทานรอยพระบาทเอาไว้ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ระลึกถึงพระพุทธองค์ และเพื่อเป็นสิ่งเคารพสักการะบูชา เพื่อให้เกิดความเป็นอุดมมงคลสืบไป</p>
2025-05-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1762
ปฐมเทศนาในพระพุทธศาสนาเถรวาทและเทศนาบนภูเขาในคริสต์ศาสนา
2025-04-28T19:50:45+07:00
อำนาจ เสมอทรัพย์
laphonthan@gmail.com
พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง
poonsakkamol@gmail.com
สงวน หล้าโพนทัน
laphonthan@gmail.com
<p>พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตร หรือที่รู้กันว่า ปฐมเทศนา เป็นเทศนากัณฑ์แรกเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี สาระสำคัญของปฐมเทศนากล่าวถึง พระพุทธองค์ทรงตำหนิทางสุดโต่งสองสาย คือกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งเป็นที่นิยมปฏิบัติกันในเวลานั้น แล้วพระองค์ทรงประกาศแนวทางใหม่ อันเป็นทางสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ประกอบด้วย อริยสัจ 4 และอริมรรคมีองค์ 8 โดยสรุปแล้ว คือการดำเนินไปตามหลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ และปัญญา ด้วยวิธีการปฏิบัติเช่นนี้ เหล่าพุทธศาสนิกชนก็จะบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือพระนิพพานได้ด้วยตนเอง ส่วนคำเทศนาบนภูเขา คือบันทึกการเทศนาของพระเยซู อันเป็นคำอธิบายของพระเยซูคริสต์ โดยมีใจความสำคัญของเทศนา เรียกว่า บทเทศน์บนภูเขา หรือความสุขแท้จริง คริสตชนยังต้องประพฤติปฏิบัติตน เพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุด ยังต้องอยู่ในกรอบของพระคริสตธรรมคัมภีร์ และหลักธรรมของพระศาสนจักร เพื่อเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าให้พระเจ้ายอมรับให้สิทธิ์ผู้นั้นได้มีชีวิตนิรันดร ได้อยู่ร่วมกับพระเจ้าในพระอาณาจักรสวรรค์ การกระทำเช่นนี้ ย่อมทำให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ปฐมเทศนาในพระพุทธศาสนาเถรวาทและ เทศนาบนภูเขาในคริสต์ศาสนา พบว่าการเทศนามีความเหมือน และแตกต่างกันทั้งสองศาสนาบางประการ กล่าวคือแนวคิดของพระพุทธศาสนาเถรวาท ต้องปฏิบัติเป้าหมายสูงสุดด้วยตนเอง ส่วนคริสตชนต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างนิรันดร และเพื่อให้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า ซึ่งทั้งสองศาสนามีลักษณะที่เหมือนกันบางประการ ได้แก่</p> <p>1) ปฐมเทศนาเป็นวันที่พระพุทธเจ้า เริ่มประกาศพระศาสนา ส่วนคำเทศนาบนภูเขา คือบันทึกการเทศนาของพระเยซู ซึ่งคำเทศนาบนภูเขาเป็นหลักธรรมสำคัญของศาสนาคริสต์</p> <p>2) เป้าหมายสูงสุดของทั้งสองศาสนา มีอยู่เพียงหนทางเดียว ที่เหล่าศาสนิกชนของทั้งสองศาสนานั้นสามารถปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายสูงสุด คือพุทธศาสนิกชนเถรวาท จะต้องปฏิบัติตนหลักไตรสิกขา ส่วนคริสตชนนั้น จะต้องปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า เพราะว่าคริสตชนต้องมีความรักความเชื่ออย่างสุดหัวใจ ที่สามารถจะกระทำทุกอย่างเพื่อพระเจ้าได้</p>
2025-05-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1658
บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง “ปัญหาและทฤษฎีจริยศาสตร์”
2025-04-24T21:18:42+07:00
พระจาตุรงค์ ชูศรี
rong2553@yahoo.com
<p><strong>บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง </strong><strong>“ปัญหาและทฤษฎีจริยศาสตร์”</strong></p> <p>เขียนโดย ประเวศ อินทองปาน</p>
2025-05-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์