ปรัชญาโพสต์โมเดิร์น : พื้นฐานแห่งปรัชญาการศึกษา
คำสำคัญ:
โพสต์โมเดิร์น, พื้นฐานแห่งปรัชญา, การศึกษาบทคัดย่อ
ปรัชญาจะมีความหมายต่อเมื่อปรัชญาเข้ามามีบทบาทต่อสังคม จะโดยวิธีใดก็ตาม จนทำให้สังคมตระหนักและรับรู้ถึงคุณค่าของปรัชญาและนำปรัชญาไปใช้กับสังคมในฐานะเป็นเข็มทิศและในฐานะเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมเพื่อนำสังคมไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ ปรัชญาในโลกนี้มีทั้งปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตกปรัชญาทั้งสองส่วนนี้ล้วนมีบทบาทชี้นำสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยอาศัยผู้อุทิศแรงกาย สติปัญญา ความรัก และแรงแห่งความมุ่งมั่นเพื่อสถาปนาภูมิปัญญาให้แก่มนุษยชาติ
วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์สรรสร้างขึ้นมา วัฒนธรรมของมนุษยชาติมีมาทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ คนเรามีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตโดยการล่าสัตว์ มีวัฒนธรรมในการเลือกคู่มีวัฒนธรรมในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย แย่งถิ่นกันอยู่ เรียกว่าอู่ใครอู่มัน ถ้ำใครถ้ำมัน ใครมีอำนาจมากกว่าเป็นผู้ครอบครอง ยุคโบราณสังคมเริ่มแสวงหากฎเกณฑ์ ใช้กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เคารพกฎเกณฑ์มากขึ้น ไม่ยึดเอากำลังในการตัดสินชี้ขาดแต่ยึดกฎเกณฑ์ ทุกคนจะทำอะไรต้องคำนึงว่าผิดกฎหรือไม่ สังคมดี คือ สังคมที่ยึดกฎเกณฑ์ สังคมยุคกลาง เป็นสังคมที่อาศัยคำสอนทางศาสนาเข้าสู่ชีวิตและสังคม ยึดศาสนาเป็นหลักของชีวิต คุณภาพของสังคมขึ้นอยู่กับการเสียสละเพื่อสังคม สังคมยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อความสุขถาวรในโลกหน้าโดยเชื่อมั่นว่า การเสียสละเพื่อศาสนาเป็นหนทางแห่งความสุขที่แท้จริง การลงทุนลงแรงเพื่อสร้างวัด สร้างโบสถ์ใหญ่โตหรูหราเป็นหลักค้ำประกันที่ดีที่สุดสำหรับโลกหน้าส่วนสังคมสมันใหม่ หรือสังคมนวยุค มนุษย์ได้สร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ขึ้นมาแทนที่วัฒนธรรมศาสนา เพราะมองเห็นว่าวัฒนธรรมศาสนาทำให้ความเจริญของวิทยาศาสตร์ล้าหลังเทคโนโลยีจำเป็นต้องอาศัยวิทยาศาสตร์เป็นฐานวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่ทำไห้คนเรามีความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ชีวิตนี้ไมต้องรอชาติหน้า เพราะความสุขต้องพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
สังคม หมายถึง การรวมกลุ่มของประชาชนโดยอาศัยความเชื่อ ความผูกพันขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดโยงประชาชนให้เข้ามารวมเป็นกลุ่มเป็นพวกเดียวกัน หลังนวยุค หมายถึงกระบวนทรรศน์ที่คัดค้านแนวคิดแบบนวยุคที่เดินตามวจนศูนย์นิยม คือ การเชื่อผู้ครองอำนาจโดยไม่กล้าคิดนอกกรอบแต่หลังนวยุคพยายามแสวงหาช่องทางใหม่ๆ ในการให้ประชาชนไม่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ สังคมหลังนวยุค หมายถึงสังคมที่ก้าวพ้นจากกรอบแนวคิดที่ตายตัว แต่พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตนเองอยู่ตลอดเวลา กรอบความคิดเดิม หมายถึงกระบวนทรรศน์แบบนวยุคที่เดินตามกรอบแนวคิดวิทยาศาสตร์ หรือยึดกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มาเป็นสรณะ ออกนอกกรอบวิทยาศาสตร์เมื่อไหร่ถือว่าผิดทันทีนั่นคือการไม่เดินตามระบบใยข่ายและเครือข่ายจะไม่เป็นที่ยอมรับ สังคมนวยุคกับสังคมหลังนวยุคมีกระบวนทรรศน์ที่แตกต่างกัน
References
กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
กีรติ บุญเจือ. (2538). ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
กีรติ บุญเจือ. (2546). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มสี่ : ย้อนอ่านปรัชญานวยุคของมนุษยชาติ (ช่วงสร้างระบบเครือข่าย). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2534). วรรณกรรมทางมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.
ชเอิญศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2529). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, รศ. (2534). หลักพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, รศ. (2530). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฌอง ปอล ซาร์ต. (2540). ปรัชญาเอ็กซิลเทนเชียลิสม์ก็คือมนุษยนิยม. แปลโดย วิทยา เศรษฐวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมชาติ.
ไดซากุ อิเคดะ. (2541). มนุษย์นิยมแนวใหม่. แปลโดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฎเสน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
เดือน คำดี, ดร. (236). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ทรงวิทย์ แก้วศรี, บรรณาธิการ. (2532). มหาจุฬาฯวิชาการ: ปรัชญาบุรพทิศ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2536). ปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2555). พื้นฐานปรัชญาการศึกษา: ภูมิปัญญาของตะวันออกและตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
นายแพทย์สุวัฒน์ จันทร์จำนง. (2540). ความเชื่อของมนุษย์ปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
นภาเดช กาญจนะ, ดร. (2541). ปรัชญาชีวิตยุค 2000 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้อยทอง.
พระทักษิณคณาธิกร. (2517). ปรัชญา. กรุงเทพฯ: อนุสรณ์งานฌานปนกิจศพนางวงษ์แสงประภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ยุตฺโต). (2535). พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2550). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม บริษัทเคล็ดไทย จำกัด.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). 2549). เปรียบเทียบแนวความคิดพุทธทาสกับซาร์ต. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้งกรุ๊ฟ.
พระมหาบุญเรือง ปญฺญาวชิโร (เจนทร). (2544). มนุษยนิยมในปรัชญาขงจื้อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟื้น ดอกบัว. (2544). ปวงปรัชญากรีก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2546). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
วิทยากร เชียงกูล. (2551). ปรัชญาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
สถิต วงศ์สวรรค์, รองศาสตราจารย์. (2537). ปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมสาส์น.
สเถียร พันธรังสี. (2519). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
เสถียร โพธินันทะ. (2522). เมธีตะวันออก. กรุงเทพฯ: ทวีพิมพ์ดี.
สนิท ศรีสำแดง, (2538). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพฯ: นีลนาราการพิมพ์.
ส. ศิวรักษ์ (นามแฝง). (2537). ศิลปะแห่งการเขียน. กรุงเทพฯ: ยูโรปาเพลส.
สุเมธ เมธาวิทยากุล, ผศ.ดร. (2535). ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์.
สายพิณ ศุพุทธมงคล, ผู้แปล. (2539). โลกของโซฟี. (โยสไตน์ กอร์เดอร์ แต่ง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
สมภาร พรมทา. (2541). ชีวิตกับความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2538). พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์: บทวิเคราะห์ปัญหาโสเภณี การทำแท้งและการุณยฆาต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์.
สมภาร พรมทา. (2543). มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2545). มนุษย์กับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
สิทธิ์ บุตรอินทร์, ศาสตราจารย์, ดร. (2523). ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา.
สิทธิ์ บุตรอินทร์, ศาสตราจารย์, ดร. (2544). ปรัชญาเปรียบเทียบมนุษยนิยมตะวันออกตะวันตก. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุคส์จำกัด.
สิทธิ์ บุตรอินทร์, ศาสตราจารย์, ดร. (2532). มนุษยนิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สุจิตรา รณรื่น, รองศาสตราจารย์, ดร. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัทอักขราพิพัฒน์จำกัด.
สุวรรณา สถาอานันท์ และเนื่องน้อย บุณยเนตร. (2542). คำ : ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2538). มนุษยทัศน์ในปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนทร ณ รังสี. (2537). ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2540). คู่มืออภิปรัชญา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2532). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ: บริษัทอัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ จำกัด.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2549). วิเคราะห์อภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อมร โสภณรวิเชษฐวงศ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. (2523). ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อนุมานราชธน, ศาสตราจารย์พระยา. (2531). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการจัดพิมพ์เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี พระยาอนุมานราชธน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.