หลักการตีความในคัมภีร์เนตติปกรณ์
คำสำคัญ:
คัมภีร์เนตติปกรณ์, พระมหากัจจายนะ, การตีความ, พระอรรถกถา, แนวคิดบทคัดย่อ
เนตติปกรณ์เป็นชื่อของคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งรจนาโดยพระมหากัจจายนะเถระ พระมหาสาวกผู้ได้รับเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศในทางขยายความย่อให้พิสดาร ท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความห่วงใยพระพุทธศาสนาว่า ต่อไปในอนาคตผู้ที่จะเข้าใจพระบาลีพุทธพจน์ให้หมดจดแจ่มแจ้ง และแทงท่านเป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกตลอดได้เหมือนปัจจุบันคงหาได้ยาก จึงปรารถนาจะฝากผลงานเพื่อธำรงรักษาพระพุทธธรรมให้ยั่งยืนโดยการรจนาหนังสือว่า ด้วยหลักการอธิบายขยายความพระพุทธพจน์ให้ปรากฏเป็นหลักฐานไว้เพื่อให้ผู้สนใจในพุทธธรรม สามารถเข้าใจข้อธรรมที่ได้ฟัง หรือได้ศึกษาเล่าเรียนได้รู้แจ่มแจ้ง และสามารถแทงตลอดอริยสัจสี่ จึงรจนาคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องนี้ขึ้นโดยให้ชื่อว่าเนตติ แล้วนำถวายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงอนุโมทนา และท่านยังได้รจนาคัมภีร์ประเภทนี้อีกคือเปฎโกปเทสปกรณ์ ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับยกย่องให้เป็นเอตทัคคะในด้านนี้
คำว่า เนตติปกรณ์ แปลว่า คัมภีร์แนะแนว และคัมภีร์นำไปสู่การบรรลุธรรม หมายความว่าเป็นตำราที่ว่าด้วย แนวทางนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจพระพุทธพจน์ และเป็นตำราที่ว่าด้วยหลัก หรือวิธีการนำไปสู่การบรรลุสัจธรรม ทำให้บรรลุถึงพระนิพพาน เนตติปกรณ์นี้เป็นตำราที่อธิบายขยายความพระพุทธพจน์ อย่างมีหลักเกณฑ์ มีการจัดระบบหัวข้อ จำแนก แยกแยะ เนื้อหาเป็นสัดเป็นส่วน ทำให้เข้าใจได้ง่าย ท่านผู้รู้ส่วนหนึ่งยกย่องว่า เป็นคัมภีร์ที่อยู่ในระดับพระบาลี หรือพระไตรปิฎก แต่ก็มีลักษณะเหมือนอรรถกถาด้วย เพราะเป็นคัมภีร์ที่อธิบายขยายความพระพุทธพจน์เหมือนอรรถกถาทั่วไป เนตติปกรณ์นี้จัดเป็นอรรถกถารุ่นแรก มีมาแต่สมัยพุทธกาล เป็นต้นแบบของการรจนาอรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อธิบายความพระพุทธพจน์ในชั้นหลัง
References
กีรติ บุญเจือ. (2551). การตีความคัมภีร์ในปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สวนสุนันทา.
ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2550). รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
ปรีชา บุญศรีตัน. (2567). รูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา. กรุงเทพฯ:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระคันธสาราภิวงศ์. (2550). คัมภีร์เนตติปกรณ์. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.
พนารัตน์ จันทร์สิทธิเวช. (2560). วิเคราะห์การตีความหลักพุทธธรรมของเชอเกียมตรุงปะ. กรุงเทพฯ:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2548). ศาสตร์แห่งการตีความแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2559). เฮอร์เมนูติกส์ : ศาสตร์แห่งความเข้าใจของพระพุทธปรัชญาเถรวาท
และมหายานเชิงเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.