การตีความในพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
การตีความ, พุทธปรัชญาเถรวาท, พระไตรปิฎก, แนวคิดบทคัดย่อ
การตีความกับภาษาในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น ถือว่าภาษาเป็นเครื่องมือช่วยในการสื่อสาร ทำให้ชาวโลกได้รับรู้กัน เป็นระบบภาษาของชาวโลก เป็นถ้อยคำสำนวนของชาวโลกถือเป็นสิ่งที่ชาวโลกบัญญัติขึ้นมาใช้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับการใช้ภาษา การสื่อสารธรรมให้เข้าถึงบุคคลทั่วไปได้ง่ายขึ้น คือมีพุทธพจน์ตรัสว่า จิตเหล่านี้ล้วนจัดว่า เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุตติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ตถาคตใช้อยู่แต่ ไม่ยึดติดกับโลกทั้งหลาย พุทธพจน์ในข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ภาษาในพุทธศาสนาเถรวาทมีประสิทธิภาพมากในการสื่อสารกันอีกระดับหนึ่ง แต่ต้องขึ้นอยู่กับบริบทในทางสังคม ที่สร้างระบบภาษาขึ้นมาใช้ภาษาสองลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือภาษาสามัญ และภาษาปรมัตถ์ พุทธองค์ทรงใช้กับบุคคลที่ต่างกันบุคคลผู้มีปัญญาเลิศพระองค์ทรงใช้ภาษาปรมัตถ์ ที่มุ่งตรัสถึงแก่นแท้ที่เป็นความจริง หากตรัสสอนคนที่มีปัญญาไม่ถึงขั้นนั้นมักทรงเลือกใช้ภาษาสามัญ เพื่อแสดงถึงความเป็นจริงเบื้องต้น แล้วสรุปชี้แจงเพื่อให้ได้เห็นถึงความเป็นจริงในภาษาปรมัตถ์ เช่น ดังข้อความที่กล่าวว่า เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจะถึงเร็ว ข้อความดังกล่าว ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจใหม่ หรือหมายถึงอะไร แต่ยังคงใช้เรือในความหมาย ที่ใช้เป็นพาหนะทางน้ำ อาจต้องตีความหมายใหม่ว่า พระพุทธองค์ทรงหมายถึงอะไร การวิดน้ำหมายความว่าอย่างไร การวิดอะไรเพื่อให้ออกจากเรือ เรือที่วิดน้ำออกไปแล้วจะถึงเร็ว คืออะไรบ้าง เป็นการใช้ภาษาสามัญในการสื่อสาร ใช้เป็นการอุปมาเพื่อเปรียบเทียบว่า ร่างกายมนุษย์หมายถึงเรือ การวิดน้ำเป็นการปฏิบัติเพื่อสลัดน้ำ คือความคิดเห็นที่ผิด หมายถึง การถึงฝั่งแห่งพระนิพพานอย่างแท้จริง
References
กีรติ บุญเจือ. (2551). การตีความคัมภีร์ในปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สวนสุนันทา.
ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2550). รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
ปรีชา บุญศรีตัน. (2567). รูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา. กรุงเทพฯ:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระคันธสาราภิวงศ์. (2550). คัมภีร์เนตติปกรณ์. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.
พนารัตน์ จันทร์สิทธิเวช. (2560). วิเคราะห์การตีความหลักพุทธธรรมของเชอเกียมตรุงปะ. กรุงเทพฯ:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2548). ศาสตร์แห่งการตีความแนวพุทธ. กรุงเทพฯ:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2559). เฮอร์เมนูติกส์ : ศาสตร์แห่งความเข้าใจของพระพุทธปรัชญาเถรวาทและ
มหายานเชิงเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.