วิเคราะห์เรื่องจิตในสำนักโยคาจาร

ผู้แต่ง

  • พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา
  • พูนศักดิ์ กมล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ

คำสำคัญ:

จิต, พระพุทธศาสนามหายาน, นาคารชุน, โยคาจาร

บทคัดย่อ

นิกายโยคาจารก่อตั้งขึ้นโดยเมตตรัยนาค และมีสานุศิษย์ที่สืบต่อนิกายนี้ คือพระอสังคะ และพระวสุพันธุ พระทินนาคะ และพระธรรมปาละ ซึ่งหลักการสำคัญของสำนักนี้คือเรื่องจิต โดยเชื่อว่าจิตเป็นสารัตถะของสรรพสิ่งทั้งปวง และจิตเท่านั้นที่เป็นจริง สิ่งอื่นนอกเหนือจากจิตเป็นเพียงมายา ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ เป็นเพียงภาพสะท้อน หรืออาการกิริยาของจิตเท่านั้น วัตถุภายนอกไม่อาจจะพิสูจน์ได้ เพราะวัตถุภายนอกเป็นเพียงมายาจากดวงจิต มีอยู่เป็นอยู่เพราะการคิดของจิตเท่านั้น ส่วนการที่จิตทำหน้าที่มีอยู่ 3 ประการ คือรู้เก็บ รู้ก่อ และรู้ปรุง จิตจึงเป็นใหญ่และเป็นสารัตถะของสรรพสิ่ง โลกวัตถุจึงเป็นเพียงมโนภาพหรือมายา ที่ปรุงแต่งออกไปจากพีชะในจิต เมื่อไม่มีจิตสิ่งทั้งปวงก็ไม่มี และสิ่งทั้งปวงมีได้ก็เพราะมีจิตนั่นเอง และวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจิตในสำนักโยคาจาร ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักโยคะศาสตร์ อาจจะกล่าวได้ว่า สำนักโยคาจารมีทัศนคติเป็นแบบจิตนิยม โดยเชื่อว่าจิตเป็นใหญ่ และเป็นสิ่งที่มีพลังมากมายมหาศาล และเป้าหมายสูงสุดของสำนักโยคาจาร คือการบรรลุถึงสภาพธรรมที่เป็นเอกภาพกับธรรมกายของพระพุทธเจ้า

            จุดยืนแห่งสำนักโยคาจาร คือสำนักโยคาจารเห็นด้วยกับมาธยมิกะเฉพาะเรื่องความไม่มีอยู่จริงของวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก แต่เรื่องที่เห็นว่าจิตไม่มีอยู่จริง สำนักโยคาจารไม่เห็นด้วย สำนักโยคาจารเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดเราต้องยอมรับว่าจิตเป็นสิ่งที่มีอยู่ ซึ่งทั้งนี้เพื่อให้ความคิดที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ จิตประกอบด้วยกระแสแห่งความคิดต่าง ๆ เป็นสิ่งแท้จริงเพียงประการเดียว และหลักการเรื่องจิตของสำนักโยคาจารใกล้เคียงกับคำสอนของเถรวาทที่ว่า โลกอันจิตนำไป โลกอันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปไปตามอำนาจธรรมอย่างเดียวคือจิต และจะเห็นได้ว่าทั้งสองสำนักนั้นมีความเห็นเดียวกัน แต่มองต่างมุมกันเท่านั้น เพราะจิตในทรรศนะของเถรวาทนั้น เป็นเพียงนามธรรม เป็นเพียงสมมุตติ แต่ไม่ได้มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ แม้คำว่าจิตปรมัตถ์ก็เป็นเพียงชื่อเรียก นามธรรมอย่างหนึ่งเพราะจิตเองเกิดดับตลอดเวลา และตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ซึ่งจะบอกว่ามีอยู่จริงก็ได้โดยสมมุติสัจจะ แต่โดยปรมัตถสัจจะจิตไม่ได้มีอยู่จริง

References

ยศไกร ตันสกุล. (2560). สารพันคำถามเรื่องจริงหรือเสริมแต่ง. กรุงเทพมหานคร: สยาม.

เสถียร โพธินันทะ. (2502). พระคัมภีร์กวนอิมมหาโพธิสัตว์. กรุงเทพมหานคร: ชมรมธรรมทาน.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2543). สัทธัมปุณฑริกสูตร. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ไทยธิเบต.

เสถียร โพธินันทะ. (2506). พระสูตรมหายาน. กรุงเทพมหานคร: บรรณาคาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-05-2025

How to Cite

โอทอง พ. ว. ., & กมล พ. . (2025). วิเคราะห์เรื่องจิตในสำนักโยคาจาร. วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์, 1(2), 1–11. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1838