ตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา
  • ปุ่น ชมภูพระ คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ตำนาน, รอยพระพุทธบาท, พระพุทธศาสนาเถรวาท, พระไตรปิฎก

บทคัดย่อ

รอยพระพุทธบาท คือรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงประทับเอาไว้ยังสถานที่สำคัญหลายแห่ง เป็นนิมิตหมายแห่งคุณงามความดี ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งรอยพระพุทธบาทมักจะปรากฏบนแผ่นหินที่อยู่บนภูเขาสูง มีทั้งรอยพระบาทคู่และพระบาทเดี่ยว มีทั้งขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีทั้งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ และไม่ปรากฏในคัมภีร์ ตามตำนานเล่าว่ามีอยู่ 5 แห่ง ได้แก่

1) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุวรรณมาลี

2) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุวรรณบรรพต

3) รอยพระพุทธบาทที่เมืองโยนกบุรี

4) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุมนกูฏ

5) รอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที

การเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท นั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากการอาราธนาของเหล่าเทวดา นาคราช ดาบส และมนุษย์ทั้งหลายได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ ทรงประทานรอยพระบาทเอาไว้ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ระลึกถึงพระพุทธองค์ และเพื่อเป็นสิ่งเคารพสักการะบูชา เพื่อให้เกิดความเป็นอุดมมงคลสืบไป

References

นันทนา ชุติวงศ์. (2533). รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

ผาสุข อินทราวุธ. (2542). หลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร: อักษรสมัย.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). ศิลปะทวารวดี. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระชัยวัฒน์ อชิโต. (2559). ตามรอยพระพุทธบาท. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

เดชา สุทธิกานต์. (2558). ตามรอยพระพุทธบาท. กรุงเทพมหานคร: สยาม.

บุญเลิศ เสนานนท์. (2560). ตำนานพระพุทธบาท. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

จวน คงแก้ว. (2554). พุทธศิลป์ในรอยพระพุทธบาท. กรุงเทพมหานคร: สหวิทยาการไทย.

พระวิเทศโพธิคุณ. (2545). อันว่าศรีลังกา. กรุงเทพมหานคร: บันลือธรรม.

นันทนา ชุติวงศ์. (2554). รอยพระพุทธบาทในเอเชียใต้. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

พีรพล พิษณุพงศ์. (2533). รอยพระพุทธบาทที่สระมรกต. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

มณเฑียร ศุภลักษณ์. (2541). รอยพระพุทธบาทในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: เอสพี.

หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. (2529). รอยพระพุทธบาทคู่ที่สระมรกต. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

ลักขณา รุ่งเรือง. (2554). รูปลักษณ์รอยพระพุทธบาท. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

มนัส โอภากุล. (2543). รอยพระพุทธบาทที่วัดเขาดีสลัก. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

สินชัย กระบวนแสง. (2522). รอยพระพุทธบาทในสมัยสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-05-2025

How to Cite

โอทอง พ. ว. ., & ชมภูพระ ป. . (2025). ตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์, 3(1), 31–41. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1777