การเกิดขึ้นของอภิสมาจารสิกขาบทของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและนิกายมหายาน

ผู้แต่ง

  • พระสมบัตร จารุธมฺโม ถาวร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา
  • พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา
  • สิรภพ สวนดง นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การศึกษาเปรียบเทียบ, เถรวาท, มหายาน, อภิสมาจาร

บทคัดย่อ

พระวินัยเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้นมา เพื่อควบคุมพฤติกรรมของภิกษุทั้งหลายให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ประกอบด้วย สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ และสิกขาบทที่มานอกพระปาติโมกข์ เรียกว่า อภิสมาจารสิกขาบท ในพระพุทธศาสนาเถรวาท การเกิดขึ้นของอภิสมาจารสิกขาบท พระพุทธองค์ทรงทรงบัญญัติไปตามสภาพภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง สิกขาบทที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิศาสตร์ เช่น การอุปสมบท การสรงน้ำ รวมถึงเรื่องการเก็บภิกษาหารได้ในยามเกิดทุพภิกขภัย สิกขาบทที่เกี่ยวกับสังคม พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้กุลบุตรสามารถเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาได้ โดยไม่มีเลือกชั้นวรรณะ และอาชีวปาริสุทธิศีล และการเกิดขึ้นของอภิสมาจารด้านวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมในการบิณฑบาต การนุ่งห่มจีวร เสนาสนะ และคิลานเภสัช

สำหรับพระพุทธศาสนามหายาน การเกิดขึ้นของอภิสมาจารด้านภูมิศาสตร์ เกิดขึ้นมาจากสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากทำให้เกิดมีอภิสมาจารสิกขาบทเช่น รูปแบบการนุ่งห่มจีวรที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น และการอุปสมบท ส่วนการเกิดขึ้นของอภิสมาจารด้านสังคม เกิดการพัฒนาการเช่นเรื่องการมีครอบครัว การประกอบอาหารทานเองได้ การมุ่งบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลกซึ่งเปลี่ยนไปตามสภาพพื้นที่และเวลา และการเกิดขึ้นของอภิสมาจารด้านวัฒนธรรม เช่น การไม่ทานเนื้อสัตว์ การฉันอาหารในเวลาเย็น

การเปรียบเทียบการเกิดขึ้นของอภิสมาจาร ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน พบว่า มีนัยที่เหมือนกัน คือพระวินัยบัญญัติของทั้งสองนิกาย มีสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ และที่มานอกพระปาติโมกข์เหมือนกัน ต่างกันแค่จำนวนของสิกขาบทเท่านั้น ส่วนนัยที่แตกต่างกัน คือนิกายเถรวาทไม่ตัดทอน ไม่เพิ่ม และไม่เปลี่ยนแปลงสิกขาบททุกข้อที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ส่วนนิกายมหายานนั้นสามารถตัดทอน และเปลี่ยนแปลงสิกขาบทได้ตามกาลเทศะ

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). วินัยวินิจฉัย. กรุงเทพฯ: ธรรมสุโข.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ:

สหธรรมิก.

ปัญญา ใช้บางยาง. (2550). พุทธบัญญัติในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: บันลือธรรม.

แสวง อุดมศรี. (2560). พระวินัยปิฎก. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันทะ. (2522). พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-05-2025

How to Cite

ถาวร พ. จ. ., โอทอง พ. ว. ., & สวนดง ส. . . (2025). การเกิดขึ้นของอภิสมาจารสิกขาบทของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและนิกายมหายาน. วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์, 3(1), 20–30. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1761