Journal of Education and Social Agenda
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ
<p><strong>Journal of Education and Social Agenda</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการและบทวิจารณ์หนังสือที่เป็นภาษาไทยและมีข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะที่เป็นนวัตกรรม รวมถึงความคิดริเริ่มที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติในวงกว้าง อีกทั้งยังมุ่งหมายที่จะเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ และสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการศึกษา การสอน โดยเน้นสาขาวิชาพระพุทธศาสนา การบริหารการศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการชุมชน รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ Journal of Education and Social Agenda ได้เริ่มจัดทำและตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2567 และมีการเผยแพร่ระบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียว โดยมีหมายเลข ISSN 3057-0239 (Online)</p>
บริษัท เอเชีย คอนเน็คท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
th-TH
Journal of Education and Social Agenda
3057-0239
<p>1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> <p>2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น</p>
-
การเรียนรู้โดยปัญหาเป็นฐาน: เสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ยุคใหม่
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1190
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการเรียนรู้โดยปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ยุคใหม่ พบว่า การเรียนรู้โดยปัญหาเป็นฐานเป็นแนวทางการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกัน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาหรือสถานการณ์ที่ท้าทายจริง ๆ โดยที่ผู้เรียนจะต้องเผชิญกับปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข การเรียนรู้ในรูปแบบนี้ไม่เพียงแต่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ แต่ยังส่งเสริมให้การเรียนรู้มีความหมายและสามารถนำไปใช้ได้จริง การเรียนรู้โดยปัญหาเป็นฐานยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการเผชิญกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนำแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL มาปรับใช้ในระบบการศึกษาไทยนั้น จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาของผู้เรียนในยุคที่ข้อมูลและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว</p>
ชุตินันท์ จันทบูรณ์
ชุติมา มานะกิจสมบูรณ์
สุรารักษ์ นิลอรุณ
Copyright (c) 2025 Journal of Education and Social Agenda
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-15
2025-06-15
2 2
49
62
-
เทคนิคการสอนบูรณาการตามบริบทพื้นที่: แนวทางใหม่สำหรับการพัฒนาทักษะภาษาไทยของนักเรียนประถมศึกษา
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1189
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นการนำเสนอเทคนิคการสอนบูรณาการตามบริบทพื้นที่ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาไทยของนักเรียนประถมศึกษาในประเทศไทย โดยบทความเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การฝึกอบรมและพัฒนาครู รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การเรียนการสอนบูรณาการตามบริบทพื้นที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน การสอนบูรณาการนี้จะช่วยพัฒนาทักษะภาษาไทยของนักเรียน สร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น และเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอย่างยั่งยืนเน้นการเชื่อมโยงการเรียนรู้กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน การสอนแบบบูรณาการนี้มีความสำคัญต่อการสร้างแรงจูงใจและความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้กระบวนการ TR-STAND ที่ประกอบด้วย กำหนดหัวข้อ หาข้อค้นพบ ค้นหาความต้องการ ออกแบบกิจกรรม จัดกิจกรรม บันทึกผลกิจกรรม และอภิปรายและทวนซ้ำ โดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบมาจะช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกัน และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บทความยังเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การฝึกอบรมและพัฒนาครู และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การเรียนการสอนบูรณาการตามบริบทพื้นที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผลกระทบจากการสอนบูรณาการนี้จะช่วยพัฒนาทักษะภาษาไทยของนักเรียน สร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น และเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอย่างยั่งยืน</p>
วรพล ศรีเทพ
ธิดารัตน์ เพชรนาค
Copyright (c) 2025 Journal of Education and Social Agenda
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-15
2025-06-15
2 2
63
76
-
ศึกษาพละ 5 ในคัมภีร์มิลินทปัญหา
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1059
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพละ 5 ในคัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร จากคัมภีร์มิลินทปัญหา คัมภีร์พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คัมภีร์อรรถกถา ตำราและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า ความเป็นมาและความสำคัญลินทปัญหา เป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา ที่แต่งขึ้นโดยอิงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องพระธรรมวินัย โดยย่อพระไตรปิฎกลงไว้ด้วยวิธีเสวนา แบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ 1) บุพพโยค ประวัติของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์ 2) มิลินทปัญหา ปัญหาเงื่อนเดียว 3) เมณฑกปัญหา ปัญหาสองเงื่อน 4) อนุมานปัญหา เรื่องที่รู้โดยอนุมาน 5) ลักขณปัญหา ลักษณะแห่งธรรมต่าง ๆ และ 6) อุปมากถาปัญหามีพละ 5 รากศัพท์มาจาก พลฺ ธาตุ ในภาษาบาลี หมายถึง ความแข็งแรง, พลัง, อำนาจ, กำลังทำให้เข้าใจธรรมะได้ง่าย เป็นอุปกรณ์ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างดี สามารถประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ตั้งแต่เบื้องต้นไปสู่พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา</p>
พระชัยวร ขนฺติโก (สำรวมจิตต์)
พระศรีสมโพธิ
สามารถ สุขุประการ
Copyright (c) 2025 Journal of Education and Social Agenda
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-15
2025-06-15
2 2
1
12
-
วิเคราะห์ธรณีสารในคัมภีร์ของวัดเขาแก้ว จังหวัดนครสวรรค์
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1058
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและความเชื่อเรื่องธรณีสาร และ 2) ศึกษาคัมภีร์ธรณีสารของวัดเขาแก้ว จังหวัดนครสวรรค์ 3 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งในส่วนของที่เป็นหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและปฏิบัติการ ในประเด็นที่เกี่ยวกับธรณีสาร เพื่อนำเสนอแนวคิดของคัมภีร์ธรณีสารของวัดเขาแก้ว จังหวัดนครสวรรค์ ที่สัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า คำว่า 1) ธรณีสาร เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี อาจแปลได้ว่า แก่นของแผ่นดิน ในตำราเวทย์มนตร์ภาษาไทยปัจจุบันมีบทสวดร่ายหรืออ่านโองการเวลาประกอบพิธีตั้งศาลหรือปลูกบ้านเรือน เรียกว่า ธรณีสารเล็ก ธรณีสารใหญ่ ที่เชื่อว่า ธรณีสาร 2) คัมภีร์ธรณีสารของวัดเขาแก้ว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นคัมภีร์ใบลานดิบ จารด้วยอักษรไทย ขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 40 เซนติเมตร 1 ผูก มี 14 หน้า เมื่อเทียบกับอักษรไทยในเอกสารโบราณ แต่ภายหลังเมื่อมีการสำรวจและจัดหมวดหมู่คัมภีร์ใบลานโบราณของวัดเขาแก้วแล้ว จึงได้มีการเขียนชื่อว่า “ธรณีสาร” ธรณีสารของวัดเขาแก้ว มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง ได้ขึ้นต้นคัมภีร์ด้วยการแสดงความเคารพพระรัตนตรัย และได้แสดงคำสอนของพระพุทธองค์จากอัคคัญสูตรที่เกี่ยวกับกำเนิดของโลกและมนุษย์</p>
พระครูนิเทศเขมรัตน์ (เกรียงไกร เขมปญฺโญ)
ศิริโรจน์ นามเสนา
พระศรีสมโพธิ
Copyright (c) 2025 Journal of Education and Social Agenda
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-15
2025-06-15
2 2
13
24
-
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลสำหรับการจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1495
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะ 2) องค์ประกอบ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลสำหรับการจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,504 กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 15 คน จากการเลือกผู้บริหารแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดและแบบก้อนหิมะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การตรวจสอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูล และการยืนยันร่างแนวทางโดยวิธีการสนทนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและพรรณาความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และองค์ประกอบเชิงตัวเลข ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะของสมรรถนะเชิงดิจิทัลสำหรับการจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรู้ดิจิทัล 2) ด้านการใช้ดิจิทัล 3) ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล และ 4) ด้านการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล 2) องค์ประกอบของสมรรถนะเชิงดิจิทัลสำหรับการจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ด้านพุทธิพิสัย 2) ด้านทักษะพิสัย และ 3) ด้านจิตพิสัย 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) พื้นฐานคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 2) การเข้าถึงดิจิทัล 3) การใช้ดิจิทัล 4) การผลิตและการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล 5) การสื่อสารดิจิทัล 6) การจัดการสื่อดิจิทัล และ 7) การประเมินค่าดิจิทัล และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลสำหรับการจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมี 3 องค์ประกอบหลัก และ 7 องค์ประกอบย่อย วิธีการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลสามารถทำได้ 5 วิธี ได้แก่ 1) การเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเอง 2) การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ 3) การใช้กรณีศึกษา 4) การเรียนรู้ผ่านเอไอ และ 5) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ</p>
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ
ณัฐชยา สมมาศเดชสกุล
นริดา พรนาคสอนโกษา
Copyright (c) 2025 Journal of Education and Social Agenda
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-15
2025-06-15
2 2
25
48