แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • พระครูพิทูรนคราภิรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวินิตธรรมาทร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูพิจิตรวรเวท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิมาน สุขขวัญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ประสิทธิผล, อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน, อำเภอวังทรายพูน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน และ 4) ศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กรอบแนวคิด ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในการปฏิบัติติงานตามทฤษฎี 2 ปัจจัยของ Herzberg และการปฏิบัติงานตามอิทธิบาท 4 ในขณะที่ตัวแปรตามคือประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2553 ประชากรที่ศึกษาได้แก่ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร จำนวน 391 คน ใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 เก็บรวบรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงได้แก่ t -test, F-test และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ การปฏิบัติงานตามอิทธิบาท 4 (gif.latex?\bar{X} = 3.96) แรงจูงใจในการปฏิบัติติงาน (gif.latex?\bar{X} = 3.92) และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (gif.latex?\bar{X} = 3.90) 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพต่างกัน มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) แรงจูงใจส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับความสัมพันธ์สูง คิดเป็นร้อยละ 80.10 และสามารถร่วมกับพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 64.10 และ 4) หลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับความสัมพันธ์สูง คิดเป็นร้อยละ 76.80 และสามารถร่วมกับพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 59.10

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/1

กริช ฤทธิลี. (2560). การกำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ในกำกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(39), 101-110.

กฤษณะ ทองสุก. (2563). ประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 2(1), 13-25.

กองส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2567). ระบบฐานข้อมูลเครือข่ายอาสาสมัคร ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. เข้าถึงได้จาก https://vlt.disaster.go.th/login.do;jsessionid=B7A22C02D2F1 C7649D4179B8460CE63D

โชคสุข กรกิตติชัย. (2567). ร้อยเรื่องเมืองไทย. เข้าถึงได้จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr 2567-feb7

นิชานันท์ วรรณกุล และคณะ. (2565). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(87), 136-149.

พระมหาสุเมฆ สมาหิโต และรัตติยา เหนืออำนาจ. (2563). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย, 2(1), 33-41.

พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522. (2522, 22 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 96 ตอนที่ 39, หน้า 11-12.

พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550. (2550, 7 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 52, หน้า 11-12.

สถิตย์ แพงแพง และคณะ. (2561). ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(71), 119-127.

สิริกร กุมภักดี และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีพังโคนพณิชยการ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(71), 80-86.

องค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายพูน. (2567). โครงการส่งเสริมตำบลปลอดภัยเข้มแข็งด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. เข้าถึงได้จาก https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/ 2020/EBook/411157_20200921101908.pdf

อธิชัย โศจิศิริกุล และคณะ. (2566). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ของครูสังกัดกองการศึกษาจังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 695-711.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2025

How to Cite

พระครูพิทูรนคราภิรักษ์, พระครูวินิตธรรมาทร, พระครูพิจิตรวรเวท, & สุขขวัญ ว. . (2025). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร . Journal of Education and Social Agenda, 2(1), 31–46. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1492