บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์
คำสำคัญ:
บทบาทพระสงฆ์, การบริหารจัดการ, กลุ่มสัจจะออมทรัพย์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ พบว่า พระสงฆ์ต้องทำหน้าที่บริหารจัดการอยู่บนพื้นฐาน หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 คือ ด้านขยันการปฏิบัติหน้าที่ ด้านดูแลรักษาประโยชน์ ด้านหาสมาชิก เครือข่ายที่ดี ด้านยึดหลักความพอเพียง ตามบทบาท 7 ประการ 1) บทบาทการตัดสินใจ 2) บทบาทการวางแผน 3) บทบาทการจัดองค์การ 4) บทบาทการสื่อสาร 5) บทบาทการใช้อิทธิพลจูงใจ 6) บทบาทการประสานงาน 7) บทบาทการประเมินผล จะส่งผลให้กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลไปสู่การอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี นอกจากหน้าที่และบทบาทที่กล่าวมาแล้ว หลักการในการส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่ทำให้ ประสบความสำเร็จ จนทำให้กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ คือ การประสานวิธีคิด 3 สถาบัน คือ ศาสนา ชุมชน ครอบครัว เข้าด้วยกัน ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึง การดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดีมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. (2554). กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จังหวัดจันทบุรี ชุดการจัดการทางสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมคุรุสภา.
สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน. (2556). แนวทางส่งส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
อารีย์ เชื้อเมืองพาน. (2542). กลุ่มออมทรัพย์ : สถาบันการเงินเพื่อพัฒนาชุมชน. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์เฟื้องฟ้า.
อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. (2540). ภาพการศึกษากับชุมชน : กรอบแนวคิดและข้อเสนอในการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Education and Social Agenda

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น