แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • สุรพงษ์ คงสัตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มนัสพล ยังทะเล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูอัครศีลวิสุทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งแวดล้อม, พระพุทธศาสนา, ศาสตร์สมัยใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ พบว่า สิ่งแวดล้อมขาดความสมดุล ไม่ได้รับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง และให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมน้อยเกินไป เมื่อรู้จักสิ่งแวดล้อมที่มีตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น จึงต้องเข้าใจถึงวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากระบบนิเวศสูญเสียความสมดุล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตพืช สัตว์ และรวมถึงหมู่มนุษย์ทั้งมวล หลักการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยมีวิธีการป้องกัน และรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ทันต่อเหตุการณ์ รู้จักนำกลับมาใช้ใหม่ รู้จักลดการใช้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมทางพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2532). ทัศนะเชิงพุทธศาสตร์เกี่ยวกับนิเวศวิทยา. ในมหาจุฬาวิชาการพุทธศาสตร์ และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนู แก้วโอภาส. (2549). ศาสนาโลก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปญฺโญ). (2535). พระสงฆ์กับการอนุรักษ์ป่า. นิตยสารเสขิยธรรม, 2(9), 1-12.

พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2537). คนไทยกับป่า. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2538). ธรรมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม. (2530). ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : บริษัท เอสโช่แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด.

Odum, E. P. & Barrett, G. W. (2005). Fundamentals of ecology. (5th ed). Belmont, CA, : Thomson Brooks Cole.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-09-2024

How to Cite

คงสัตย์ ส. ., ยังทะเล ม. ., & พระครูอัครศีลวิสุทธิ์. (2024). แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่. Journal of Education and Social Agenda, 1(2), 55–64. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1171

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ