ทุนท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากทางการท่องเที่ยวต้นน้ำเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ทุนท้องถิ่น, การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากทางการท่องเที่ยว, ต้นน้ำเจ้าพระยาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากทางการท่องเที่ยวต้นน้ำเจ้าพระยา พบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวระดับชุมชนท้องถิ่น และเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมพื้นที่ระดับชุมชนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัด ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก แต่จะต้องดำเนินควบคู่เพื่อการป้องกันการสูญสลายของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม รวมทั้งการเสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพให้กับผู้มาเยี่ยมเยือน ทุนท้องถิ่นทางการท่องเที่ยวของต้นน้ำเจ้าพระยา จำแนกตามทรัพยากรการท่องเที่ยวได้เป็น 4 ธรรม ประกอบด้วย ธรรมชาติ วัฒนธรรม อายธรรม และวิสัยธรรม ซึ่งการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นให้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการเข้ามามีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกิดแก่ชุมชน ส่งผลต่อความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว และเกิดกระจายรายได้แก่ท้องถิ่นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
References
วิยะดา เสรีวิชัยสวัสดิ์. (2555). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยให้เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์). บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc. go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). “โครงการกำหนดดัชนีทุนทางสังคม” เอกสารวิชาการ สมพ. 1 ลำดับที่ 24 เล่มที่ 4/2548 (อัดสำเนา).
สุภรณ์ โอเจริญ. (2528). นครสวรรค์รัฐกึ่งกลาง: รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมทั้งถิ่นจังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูนครสวรรค์.
Cohen, J. M. & Uphoff, N.T. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity. New York : World Development.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Education and Social Agenda

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น