การประเมินผลโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) กรณีศึกษา: ตำบลสร้อยละคร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
การประเมินผลนโยบาย, โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG), ตัวแบบ ซิปป์ โมเดลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผล และสร้างข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) กรณีศึกษา: ตำบลสร้อยละคร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยงานศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้การประเมินนโยบายโดยใช้ตัวแบบ CIPP Model และมีวิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษา พบว่า 1) การดำเนินงานโดยรวมถือว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักของโครงการ โดยสามารถเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ได้มากขึ้น และสามารถส่งเสริมการจ้างงาน การพัฒนากำลังคน รวมถึงยกระดับการสร้างฐานข้อมูลสำคัญในพื้นที่ โดยที่ปัจจัยแห่งความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือในการแก้ปัญหาในระดับปัจเจกบุคคลที่มีความยืดหยุ่น มากกว่าการทำตามกระบวนการอันเคร่งครัดของภาครัฐ ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงในหลายประเด็น เช่น ปัญหาด้านการจัดวางทรัพยากรบุคคลให้เหมาะกับงาน กรอบระยะเวลาการดำเนินงานอันสั้น งบประมาณที่ล่าช้า ตลอดจนระบบเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลของภาครัฐที่ต้องมีการปรับปรุงการใช้งาน และ 2) ข้อเสนอแนะในการวิจัย การศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินการในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างกัน รวมถึงโครงการดังกล่าวยังถือว่าเป็นโครงการที่เป็นนโยบายแบบบนลงล่าง (Top down) ซึ่งตอบสนองเฉพาะผู้คนส่วนน้อยที่มีตำแหน่งสำคัญในพื้นที่ ซึ่งอาจด้วยสถานการณ์โรคโควิด -19 และระยะเวลาดำเนินโครงการเพียง 3 เดือน จึงมีผลอย่างสำคัญถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโครงการ ตลอดจนควรมีการศึกษาวิจัยถึงโครงการนี้ในเชิงมหภาค เพื่อถอดบทเรียนสำคัญที่เกิดขึ้นจากผลดำเนินการ นำไปสู่การสร้างตัวแบบในการพัฒนาโครงการด้วยแนวทางใหม่ๆ และเป็นการสร้างองค์ความรู้ในเชิงพื้นที่ต่อไป
References
ชินรัตน์ สมสืบ. (2553). การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิ ราช.
ชูชื่น พงษ์ดี. (2553). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนราชดําริสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภชัย ยาวะประภาษ และปิยากร หวังมหาพร. (2555). นโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.
สุปราณี ธรรมพิทักษ์. (2561). มุมมองเชิงทฤษฎีของการนำนโยบายไปปฏิบัติ. วารสารรมยสาร, 16(2), 501-518.
เสกสรร แสนสีสด และคณะ. (2565). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจต่อโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ U2T) ของประชาชนในเขตตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(1), 88-105.
เสาวลักษณ์ แสนโรจน์. (2559). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับหมู่บ้านจังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
อดิศักดิ์ ศักดิ์สูง และคณะ. (2561) การประเมินผลโครงการตามนโยบาย “3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน”กรณีศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (อัดสำเนา)
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
Stufflebeam, D. L. (1974). Meta-evaluation. Journal of MultiDisciplinary Evaluation, 7(15), 99-158.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models, and application. San Francisco, CA : Wiley.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Education and Social Agenda

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น