การพัฒนาศักยภาพชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมในอีสานใต้
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ศักยภาพ, ผู้ประกอบการ, การท่องเที่ยว, ศาสนา, วัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมของชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมในอีสานใต้ 2) ศึกษาแนวทางทางพัฒนาศักยภาพของชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนา และวัฒนธรรมในอีสานใต้ และ 3) ศึกษาผลกระทบต่อชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนา และวัฒนธรรมในอีสานใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก เลือกแบบเจาะจงจำนวน 32 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพร้อมของชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมในอีสานใต้ พบว่า ข้อเสนอแนะด้านเชิงนโยบายสามารถนำผลการวิจัยด้านพื้นที่ และการพัฒนาศักยภาพชุมชน ยังขาดการสนับสนุนทั้งงบประมาณจากภาครัฐและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เช่น ป้ายบอกทาง การเผยแพร่กิจกรรมการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 2) แนวทางทางพัฒนาศักยภาพของชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนา และวัฒนธรรมในอีสานใต้ ดังนี้ 2.1) ด้านพื้นที่ 2.2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 2.3) ด้านสภาพแวดล้อม 2.4) ด้านการมีส่วนร่วม 2.5) แนวทางการจัดการศักยภาพด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 2.6) แนวทางการจัดการศักยภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 2.7) แนวทางการจัดการศักยภาพด้านความปลอดภัย 2.8) แนวทางการจัดการศักยภาพด้านความสามารถในการรองรับของพื้นที่ 2.9) แผนการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยว 2.10) แผนการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยว และ 3) ผลกระทบต่อชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนา และวัฒนธรรมในอีสานใต้ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการวิเคราะห์ ในด้านสังคม วัฒนธรรมเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมทั้งด้านบวก และด้านลบ เป็นต้น
References
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ และคณะ. (2560). การศึกษาประวัติศาสตร์และเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมอีสานใต้. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บูรกรณ์ บริบูรณ์. (2560). อัตลักษณ์กับการท่องเที่ยว : ศึกษาการนำอัตลักษณ์มาใช้กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาเซียน. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพรชัย สิริวโร และคณะ. (2560). การศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัชลดา สุวรรณนวล และคณะ. (2561). เส้นทางและเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำตาปีภายใต้แผนงานวิจัยภูมิปัญญาลุ่มแม่น้ำตาปี : ประวัติศาสตร์คุณค่าและการเชื่อมต่ออารยธรรมศรีวิชัย. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Education and Social Agenda

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น