การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การบริหารงาน , องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 352 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที t-test และค่าเอฟ F-Test และวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการสรุปเนื้อหานำเสนอแนวทาง ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมการของประชาชนต่อการบริหารจัดการในองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการมีส่วนร่วมการของประชาชนต่อการบริหารจัดการในองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตามหลักอัปริหานิยธรรม 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประชาชนที่มีการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน และ3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตามหลักธรรมอปริหานิยธรรม 7 พบว่า 1) การประชุมการบริหารงานวางแผน จัดการ ปรึกษาหารือ พูดคุย สื่อสาร ประสานงาน และรายงานผล 2) เข้าร่วมการประชุมตรงเวลาเสมอ และไม่เคยละทิ้งการประชุม 3) ไม่บัญญัติระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความต้องการของบุคคล กลุ่มคน หรือผู้มีอิทธิพล 4) ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุไปตามวัตถุประสงค์ พันธกิจ และนโยบายขององค์กร 5) ให้โอกาสสตรีได้มีส่วนร่วมในการบริหารมีบทบาท 6) ส่งเสริม สนับสนุน รักษาปลูกฝังจิตสำนึกในศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น และ 7) ปกป้อง คุ้มครอง พระพุทธศาสนาโดยการสนับสนุนผ่านโครงการและกิจกรรมในทางพระพุทธศาสนา
References
นิติพงษ์ พงศ์วิทยเวคิน. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระนุชิต นาคเสโน (โพวิชัย). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวีรเดช ฐานวีโร (หงษเงิน). (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหาร ส่วนตำบลท่าแดง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. (2560, 6 เมษายน 2560) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-90.
สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัทจูนพับลิชชิ่งจำกัด.
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570). (อัดสำเนา)
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper and Row.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Education and Social Agenda

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น